อยู่คอนโด ให้ปลอดภัย ควรนึกถึงอะไรบ้าง

Posted in Wednesday, August 31, 2011
by webprayad

ข้อมูลในการพิจารณาเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในคอนโดมิเนียม

1. บันไดหนีไฟ กฎหมายบังคับให้อาคารสูงต้องมีบันไดหนีไฟอย่างน้อย 2 ตัว มีประตูเหล็กกันไฟและเปิดออกได้ตลอด ห้ามปิดล็อค และประตูจะต้องติด Door Closer ให้ประตูปิดได้เองป้องกันไม่ให้ควันเข้าไปในช่องบันได ภายในช่องบันไดต้องสามารถระบายอากาศได้ ทางเดินในแต่ละชั้นควรต่อเนื่องไปยังบันไดหนีไฟทั้ง 2 ตัวได้ ไม่ใช่ทางตัน เพื่อว่าในกรณีที่ทางไปบันไดตัวหนึ่งเกิดเพลิงไหม้ ไม่สามารถผ่านไปได้ ก็ยังมีอีกทางที่จะไปยังบันไดหนีไฟอีกหนึ่งตัว ทำให้เราหนีไฟได้อย่างปลอดภัย 

2. ระบบเตือนเพลิงไหม้และระบบดับเพลิง ระบบเตือนเพลิงไหม้ประกอบด้วยตัวดักจับควัน (Smoke Detector) หรือตัวดักจับความร้อน (Heat Detector) ที่เห็นตามฝ้าเพดาน กรณีเกิดควันหรือความร้อนไฟไหม้อุปกรณ์ทั้งสองตัวจะส่งสัญญานเตือนไปยังศูนย์ควบคุม ผู้ที่อยู่ในศูนย์ฯ ก็จะทราบว่าเพลิงไหม้ที่บริเวณไหนและสามารถขึ้นไปดับเพลิงในจุดนั้นๆได้ทันที

3. การดับเพลิง นั้นมีทั้งที่เป็นระบบอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า Sprinkler และระบบที่ต้องใช้คนดับ คือ สายดับเพลิง ในอาคารสูงต้องมีทั้ง 2 สิ่งนี้

Sprinkler คือ ท่อน้ำที่เดินอยู่บนฝ้าเพดานแล้วต่อหัวที่มีลักษณะเป็นกระเปราะแก้วลงมากระจายไปทั่วบริเวณ เมื่อมีความร้อนเกิดขึ้นถึงอุณหภูมิที่กำหนด หัว Sprinkler จะแตก น้ำในท่อซึ่งถูกปั๊มให้มีแรงดันสูงจะพ่นกระจายลงมาช่วยดับเพลิงในระยะเริ่มต้น ส่วนสายดับเพลิงนั้นจะต้องติดตั้งอย่างน้อยชั้นละ 1 จุด ถ้าแต่ละชั้นมีพื้นที่กว้างมากจะต้องมีสายดับเพลิงมากกว่า 1 จุด สามารถลากได้ยาว 30 เมตร ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องครอบคลุมทุกบริเวณ 

ภายในอาคารสูงต้องมีลิฟต์ 1 ตัวที่จะใช้เป็นช่องทางสำหรับพนักงานดับเพลิง และภายในโถงลิฟต์ดับเพลิงจะต้องมีสายดับเพลิงติดตั้งอยู่ด้วย


ในอาคารสูงไม่เพียงแต่จะต้องมีระบบเหล่านี้ครบถ้วนเท่านั้น แต่ทุกระบบต้องตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานได้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องนี้ควรได้รับการฝึกฝนและพร้อมอยู่เสมอ ขณะเดียวกันผู้อยู่อาศัย ก็ต้องมีการซ้อมหนีไฟเพื่อให้รู้จักวิธีการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เหตุฉุกเฉินดังกล่าว

Read more

การตรวจเช็คคอนโด ก่อนโอน

Posted in
by webprayad

การซื้อคอนโดคือการเริ่มต้นชีวิตและครอบครัวส่วนใหญ่จะใช้วิธีผ่อนกับธนาคารดังนั้นจึงจำเป็นต้องแบ่งเงินเดือนที่หามาได้เพื่อให้พอกับการใช้ชีวิตและผ่อนคอนโด คอนโดเป็นที่ให้ความสุขในชีวิตประจำวันถ้าคอนโดที่ท่านซื้อมามีแต่ปัญหาต้องซ่อมจุกจิกน่ากวนใจอีกทั้งยังต้องเสียเงิน เสียเวลา ในการซ่อมดังนั้นถ้าเราจะซื้อคอนโดซักหลังก่อนทำการโอนเราควรจะตรวจสอบอะไรบ้าง
             เรามาดูขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบกันโดยเราจะแบ่งคอนโดออกเป็นส่วนต่างๆคือ ฝ้าเพดานผนังภายใน ผนังภายนอก ประตู หน้าต่าง พื้น ระเบียง  ห้องน้ำ ประปา สุขาภิบาล ไฟฟ้า และบริเวณโดยรอบ 

ส่วนฝ้าเพดาน
1. ไม่มีรอยแตกร้าวให้เห็น รอยต่อเรียบไม่เลอะคราบพื้นผิวเรียบสีไม่เป็นเม็ด
2. ความสูงฝ้าตามพรบ.ควบคุมอาคารสูงจากพื้นถึงฝ้าไม่น้อยกว่า 2.40เมตร
3. บัวฝ้าเพดานเข้ามุม รอยต่อสนิทไม่เห็นหัวตาปูและทาสีเรียบสม่ำเสมอ
4. ฝ้าบริเวณห้องน้ำต้องเป็นฝ้าชนิดกันชื้น(ดูด้านบนฝ้าต้องเป็นชนิดสีเขียว)
5. ฝ้าบริเวณห้องน้ำควรทำช่องเซอร์วิสไว้เปิดดูระบบท่อต่างๆได้

ส่วนผนังภายใน
1. ผนังต้องไม่มีรอยแตกร้าวถ้ามีควรสกัดออกกว้าง 1 เซนติเมตรแล้วเก็บปูนฉาบทับแห้งแล้วจึงทาสี
2. ปูนฉาบต้องเรียบไม่เป็นคลื่น ไม่เป็นเม็ด ทาสีสม่ำเสมอ ไม่ด่างและเลอะคราบสกปรก
3. ขอบสันปูนและเซี้ยมเป็นเส้นตรง ไม่แตก บิ่น
4. ใช้ไม้เคาะผนังต้องไม่เป็นโพรงหรือร่อนถ้ามีให้สกัดฉาบใหม่
5. ถ้าติดวอลเปเปอร์ต้องเรียบไม่เป็นเม็ด รอยต่อสนิทไม่อ้าและเข้ามุมเรียบร้อย

ส่วนผนังภายนอก
1. ให้ทำการตรวจสอบจากข้อ 1-4เช่นเดียวกับการตรวจผนังภายในแล้วเพิ่มข้อต่อไป
2. บัวผนังรอบนอกไม่แตกร้าวเหลี่ยม รอยต่อเรียบสวยงาม
3. ใต้ท้องคาน ใต้ขอบผนัง ใต้ขอบระเบียงควรเซาะร่องทำบัวหยดน้ำกันน้ำไหลพาคราบสกปรกเกาะใต้ท้องคาน
4. ปูนฉาบด้านล่างสุดรอบตัวบ้านต้องฉาบให้สุดท้องคานคอดินหรือเมื่อปรับดินแล้วต้องมองไม่เห็นส่วนที่ไม่ฉาบ

ส่วนประตู
1. วงกบไม้เรียบ สันไม่บิ่น เข้ามุมฉากสนิทและทำสีเรียบร้อยไม่ด่าง
2. ด้านข้างวงกบและผนังปูนรอบวงกบต้องไม่มีรอยแตก ถ้ามีต้องเก็บยาแนวให้เรียบร้อย
3. ทาสีบานด้านนอก/ในต้องไม่เห็นลายเนื้อไม้ สีไม่ด่างและเลอะคราบสกปรก
4. ต้องทาสีขอบสันบานทั้ง4ด้านโดยมากจะไม่ทาสีด้านบน/ล่างเพราะมองไม่เห็นดังนั้นต้องใช้กระจกเงามาส่องดู และให้เน้นขอบล่างของประตูห้องน้ำเพราะเป็นส่วนที่โดนน้ำได้ง่ายประตูจะบวมและเสียเร็วแต่ถ้าเป็นประตู PVC ก็ไม่ต้องเน้น
5. บานประตูปิดสนิทไม่เสียดสี(บานขบ) ไม่บิด ร่องห่างระหว่างบานและวงกบไม่ควรเกินครึ่งเซนติเมตรแลบานไม่ตก
6. บานพับใส่สกรูครบสีเดียวกับบานพับ ลูกบิด มือจับ ล๊อค สตอปเปอร์อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและไม่หลวม
7. งานอลูมิเนียมไม่มีรอยข่วน สีลอก เลอะ เก็บซิลิโคลนรอบกรอบเรียบร้อย ยางขอบกระจกไม่ปลิ้น ที่สำคัญช่างมักจะ ไม่ใส่คือสักหลาดช่องขอบกระจกและท้ายบานแนวตั้งซึ่งมันป้องกันบานกระพืทำให้บานปิดสนิทด้วย
8. บานเลื่อนล้อไม่ฝืด ไม่ดัง เมื่อเลือนปิดชนผนังต้องสนิทถ้าไม่สนิทต้องปรับน๊อตล้อ

ส่วนหน้าต่างให้ตรวจเช่นเดียวกับการตรวจประตู

ส่วนพื้นห้อง
1. พื้นไม้ลามิเนตรอยต่อต้องสนิท(อนุโลมให้ได้ถ้าร่องห่างไม่เกินความหนากระดาษ A4 หนึ่งแผ่น
2. เดินเหยียบไม่ดังอ๊อดเอี้ยด ไม่ยุบตัวมาก(ปกติจะยุบตัวได้นิดหน่อยเพราะด้านล่างรองแผ่นโฟมบางๆ)
3. บัวเชิงผนังรอยต่อต้องสนิท การติดบัวกับผนังควรใช้กาวติดแต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ตาปูต้องเก็บโป๊วและทำสีไม่ให้เห็นรอย
4. ใต้บัวเชิงผนังเวลาเหยียบพื้นต้องไม่ยุบตัว ไม่มีฝุ่นขึ้นและเก็บยาแนวเรียบสม่ำเสมอ
5. พื้นกระเบื้องเคาะต้องไม่เป็นโพรง(ของแข็งๆหล่นใส่จะได้ไม่แตก) รอยต่อเรียบไม่สดุด ยาแนวเป็นเส้นตรงไม่สกปรก

ส่วนระเบียง
1. ให้ตรวจพื้นกระเบื้องตามหมวดพื้นและเช็คSlopeต้องเทลาดไปทางรูน้ำทิ้ง

ส่วนบันได
1.พื้นที่ใช้สอยชั้นบนไม่เกิน300ตรม.ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22.5 ซม.ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม. ความกว้างจากผนังถึงราว 90 ซม. ความสูงจากลูกนอนถึงฝ้าเพดาน 1.90 เมตร

ส่วนห้องน้ำ
1. สายน้ำดีเข้าสุขภัณท์ควรต้องมีสตอปวาวล์ทุกจุดเพื่อสะดวกในการซ่อมแซม
2. ตรวจเช็คกระเบื้องเหมือนในหมวดพื้น และSlopeต้องเอียงลาดไปทางรูระบายน้ำให้ใช้น้ำลาดดูอย่าให้น้ำขัง
3. ประปาให้ปิดน้ำทั้งหมดแล้วดูว่ามิเตอร์ยังหมุนอยู่แสดงว่าน้ำรั่ว

ส่วนไฟฟ้า
1. ตรวจสอบสายดินกันไฟดูดใช้งานได้หรือไม่ เข้าสายL-Nถูกต้องหรือไม่โดยใช้มิเตอร์วัด
2. ตรวจสอบความถูกต้องของขนาดสายสวิทและดวงโคมใช้ขนาด 1.5 sq.mm.
3. ตรวจสอบความถูกต้องของขนาดสายปลั๊กใช้ขนาด 2.5 sq.mm.
4. ตู้ควบคุมไฟฟ้าควรอยู่ในระดับผู้ใหญ่เอื้อมถึงเพื่อสะดวกในการปิด เปิดเมื่อไม่อยู่เป็นเวลานานๆหรือซ่อมบำรุง
5.มิเตอร์ไฟขนาด 15(45)ควรใช้สายเมนขนาด 16 sq.mm.และสายดินใช้ขนาด 10sq.mm.เชื่อมต่อหลักดินยาว ไม่น้อยกว่า 1.50 m.
     

Read more
Copyright (C) 2007 ISHIKAWA Shoji Co.,Ltd. Powered by Blogger.